วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รูป ภาพ ไอโฟน รุ่นใหม่ ( Iphone 4G ) NEW!!!

iPhone 4g [ต้องเป็นแบบไหนซักอัน]





64 GB ตกใจ ตกใจ



128 GB ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ
























เอามาให้ดูกันเล่นๆครับ

ได้ข่าวว่า จะออกมา เมษายน นี้ครับ

ส่วนตัวผมชอบ Iphone Ultra กับ Iphone Luxe มากครับ
แต่ราคาคงแพงน่าดูเลย

อ้างอิง :
armlivious

(ขอบคุณครับ)

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การซ่อมฮารด์ดิสก์ โดยแก้ไขไม่ให้มี Bad Cluster หรือ Bad Sector

การซ่อมฮารด์ดิสก์ โดยแก้ไขไม่ให้มี Bad Cluster หรือ Bad Sector ให้เพื่อน ๆ เข้าใจสักหน่อยคับว่า การที่ฮารด์ดิสก์มี Bad Cluster หรือ Bad Sector นั้น เราไม่สามารถที่จะแก้ไขไม่ให้มันหายไปได้ เพราะการทำงานของ Firmeware ในฮารด์ดิสก์จะกำหนดไว้ว่า ถ้าหากหัวอ่าน/เขียนของมัน พบปัญหา เช่นอ่านแล้วข้อมูลไม่ถูกต้อง และวงจรตรวจสอบที่อยู่บน PCB มันใช้ ECC หรือ CRC หรือ Read Retry (หรือวิธีอื่น ๆ ที่แล้วแต่เทคโนโลยีของ บ. ผู้ผลิต) เข้ามาช่วยแล้วแต่แก้ไขไม่ได้ ฮารด์ดิสก์จะตีว่า พ.ท.นั้นเป็น Defect หรือกำหนดให้เป็นจุดเสียที่มันจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวอีก และข้อมูลที่เอาไว้บอกตัวฮารด์ดิสก์เองว่าจุดใดบ้างที่เสียนั้น จะเก็บไว้ที่ System Area ซึ่งเป็น Cylinder ที่เราจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลในจุดนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็น Cylinder ที่ฮารด์ดิสก์กันเอาไว้ให้ตัวของมันเองโดยเฉพาะ และทุกครั้งที่ฮาร์ดดิสก์บูตมันจะต้องเข้าไปอ่านข้อมูลที่ System Area แล้วเอามาเก็บที่ Ram เพื่อที่จะบอกกับตัวมันเองว่ามี พ.ท. ตรงไหนบ้างที่ห้ามเข้าไปอ่าน/เขียน

การที่จะเข้าไปแก้ข้อมูลในจุดนี้ต้องใช้เครื่องที่โรงงานผู้ผลิตนั้นออกแบบ มาโดยเฉพาะ และต่อให้เราเข้าไปแก้ได้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะ พ.ท.ตรงนั้นอาจมีสิ่งสกปรกติดอยู่ หรือสนามแม่อาจถูกกระทบกะเทือนจนหลุดออก ซึ่งเป็นชิ้นเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น และในความเป็นจริงยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากที่ทำให้เกิด Bad Cluster หรือ Bad Sector ก็ตามแต่จะเรียก สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือ ห้ามกระแทกฮารด์ดิสก์แรง ๆ ไม่ว่ามันจะทำงานอยู่หรือไม่ก็ตาม และเมื่อคุณจับมันก็ไม่ควรจับที่ PCB เพราะไฟฟ้าสถิตย์ในตัวเราอาจวิ่งไปยังวงจรที่ PCB แล้วทำให้ IC เสียหายได้ และจุดนี้เองที่ร้านที่ทำให้เกิดร้านรับซ่อมฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเขาเพียงแค่อาศัยการเปลี่ยนแผ่น PCB ที่ประกบอยู่โดยการหารุ่นและยี่ห้อที่ตรงกันมาเปลี่ยน ง่าย ๆ เท่านี้เอง

และการที่เราคิดว่าแผ่นดิสก์ภายในมีรอยก็น่าจะเปลี่ยนได้ ขอบอกเพื่อน ๆ ว่าเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดที่จะเปิด Cover หรือฝาครอบมันออกมาแล้วเอาแผ่นใหม่ใส่เข้าไป เพราะบนแผ่นดิสก์ทุกแผ่นและทั้งสองด้านของแผ่นจะมีสัญญาณ Servo เขียนอยู่ ซึ่งสัญญาณนี้จะถูกเขียนในลักษณะตัดขวางเหมือนกับการแบ่งเค้กกลม ๆ ออกเป็นส่วน ๆ โดยที่สัญญาณนี้จะต้องตรงกันทุกแผ่นจะวางเยื้องกันไม่ได้เลย เพราะเครื่องเขียนสัญญาณกำหนดให้ต้องตรงกัน ซึ่งขอเปรียบเทียบกับล้อรถยนต์ที่ต้องมีจุ๊บเติมลม ที่เราต้องเอาจุ๊บของล้อทุกล้อมาวางให้ตรงกันเพื่อที่จะบอกให้ PCB ได้รับทราบว่าจุดเริ่มต้นของดิสก์หรือ Sector 0 หมุนไปอยู่ที่ใดบนแผ่นดิสก์ และสัญญาณนี้ไม่สามารถมองให้ได้ด้วยตาเปล่าต่อให้เอากล้องจุลทรรศมาส่องก็ ไม่เห็น การที่เราจะจับฮารด์ดิสก์ให้มีความปลอดภัยนั้นตัวเราต้องลงกราวนด์ นั่นคือเท้าเราต้องแตะพื้นให้ไฟฟ้าสถิตย์จากตัวเราไหลลงพื้นดิน เพื่อน ๆ อาจนึกไม่ถึงว่ามันจะมีผลมากถึงขนาดว่าทำให้ฮารด์ดิสก์เสีย แต่เราอย่าลืมว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราไปจับโลหะอะไรมาบ้างแล้วมัน ถ่ายเทประจุให้เราเท่าไหร่,จะมีผลต่อสิ่งอื่น ๆ ไหมเราไม่รู้เหมือนกับรถบรรทุกขนถ่ายน้ำมัน ที่เวลาวิ่งต้องเอาโซ่ลากไปตามถนนเพื่อระบายประจุ หรือทำให้เกิดความต่างศักย์น้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์เพราะมันอันตรายมากที่เวลาเอาหัวจ่ายน้ำมันรถไปต่อกับวาลว์รับ น้ำมัน ซึ่งอาจเกิดประจุไฟ้ฟ้าวิ่งจากศักย์สูงไปศักย์ต่ำแล้วเป็นประกายไฟ เพราะเวลารถวิ่งไปชนอากาศที่มีประจุลอยอยู่มันก็จะสะสมไปเรื่อย ๆ

อยากบอกว่าเสียดายมาก ๆ หากฮารด์ดิสก์เกิด Bad Sector ขึ้นมาแต่ก็ต้องทำใจยอมรับ เนื่องจากมันแก้ไขไม่ได้จริง ๆ ต่อให้เอาเครื่องมือในโรงงานมากองต่อหน้าแล้วให้อยู่ใน Clean Room ก็ทำไม่ได้ (ยกเว้นนั่งรื้อชิ้นส่วนออกหมดแล้วเอาแผ่นดิสก์ใหม่มาใส่เพราะเครื่องเขียน Servo อยู่ในนั้น) แต่การที่เราจะเลี่ยงไม่ใช้ พ.ท.ที่เสียอยู่ในตอนอื่น ๆ ของข้อมูลนั้นก็ทำได้เช่นแบ่งพาร์ทิชั่นออกเป็นส่วน ๆ โดยให้พาร์ทิชันที่เราไม่ต้องการครอบตรงจุดเสียไว้ หรือถ้าหากเราต้องการกู้ข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ๆ ก็ต้องใช้ Software ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่น Spinrite หากถามว่าทำไม บ.ผู้ผลิตไม่ออกแบบให้ฮาร์ดดิสก์แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อน หรือให้มันสามารถกู้ข้อมูลได้เล่า คำตอบก็เป็นเพราะมันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น, และทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตหรือกว่าที่จะออกจำหน่ายได้ช้าออกไปอีก ,ทำให้ความเร็วในการทำงานลดลงด้วย

10 ลางบอกเหตุ Harddisk ใกล้ตาย (ปัญหายอดหิต)

ว่ากันว่าผู้ใช้บางท่านรู้สึกแย่มาก ๆ ที่อยู่ดี ๆ ฮาร์ดดิสก์สุดที่รักก็จากไปอย่างไม่หวนคืน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นมันมีสัญญาณเตือนให้ทราบอยู่ตลอดเวลา แต่ก็หาได้สังเกตไม่ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีนิสัยรักการแบ็คอัพ ประเภทรักเดียวใจเดียวไม่สำรองข้อมูลไว้ที่อื่นกันบ้ างเลย

ประเด็นที่อยากจะเตือนผู้ใช้ก็คือ อย่ามั่นใจเทคโนโลยีมากเกินไป ควรสังเกตสังกามันบ้าง ต่อไปนี้คือ ลางบอกเหตุสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใกล้ตาย ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน อ่านเรื่องนี้จบแล้วลองพิจารณาดูด้วยนะครับว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่มีอาการตามนี้บ้างหรือไม่

1. เสียงดังติ๊กๆ อย่านึกว่าเป็นเข็มนาฬิกา : ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวในโลกนี้ไม่เคยติดตั้งนาฬิกาปลุกไว้ ข้างใน และถ้ามันเป็นปกติดีก็ไม่ควรจะมีเสียงดังติ๊กๆ ให้ชวนระทึกขวัญด้วย เสียงดังที่ว่านี้ ถ้าจะให้พิจารณากันอย่างละเอียดคุณต้องเอาหูแนบกับฮา ร์ดดิสก์ว่าเสียงมาจากส่วนใด เพราะการวิเคราะห์หาสาเหตุจะทำได้ตรงจุดจริง ๆ ถ้าเสียงมาจากตรงกลางให้สันนิษฐานว่ามาจากชุดขับเคลื ่อนมอเตอร์ที่อาจเกิดความผิดพลาดหรือชำรุดขึ้น แต่ถ้าเสียงดังมาจากรอบ ๆ นอกในรัศมีของกล่องฮาร์ดดิสก์ ให้สันนิษฐานว่าปัญหามาจากหัวอ่านติดขัด ซึ่งอาจจะกำลังเคาะกับแผ่นจานอยู่ก็เป็นได้ ตรงนี้อันตรายมากเพราะทำให้ข้อมูลเสียหายได้ทั้งลูกเ ลย

2. ไฟดับบ่อยๆ ไม่ดีกับฮาร์ดดิสก์ : เครื่องคอมพ์ที่ไม่มี UPS มีโอกาสเสี่ยงที่อุปกรณ์ภายในจะเสียหายเร็วขึ้นถ้าหา กมีไฟดับบ่อย ๆ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์นั้น เวลาที่ไฟฟ้าดับอย่างรวดเร็วหัวอ่านข้างในอาจจะยังไม ่กลับสู่บริเวณที่ปลอดภัย หรือบางทีหัวอ่านอาจจะไปกระแทกกับแผ่นจานในช่วงที่ไฟ ฟ้ากระชากขึ้นมาทันที ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่ นอกจากนี้หากไฟตกบ่อย ๆ แล้วดับลงก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เพราะฮาร์ดดิสก์จะพยายามทำงานตามหน้าที่หากมีกำลังไฟ เพียงพอ แต่ถ้าในระหว่างนั้นไฟค่อยๆ ตกลงและดับไป ตำแหน่งของหัวอ่านจะยังไม่กลับที่เดิมแน่ ดังนั้น ควรติดตั้ง UPS ไว้จะปลอดภัยทั้งฮาร์ดดิสก์เองและอุปกรณ์ทั้งหมดด้วย เช่นกัน

3. เครื่องแฮงก์บ่อยๆ : ปัญหาเครื่องคอมพ์ค้างนั้น มีหลายสาเหตุครับ นอกจากซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ Error แล้ว อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ก็สามารถทำให้เครื่องค้างหรือหยุดนิ ่งไม่ไหวติงได้เช่นกัน หนึ่งในนั้นก็คือ ฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง ทำไมฮาร์ดดิสก์ถึงค้างได้ เป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ยากครับ อย่างแรกเลยก็คือ กำลังไฟที่จ่ายไม่เพียงพอ ถ้าเครื่องของคุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก มีฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ออปติคอลหลายตัว แต่เพาะเวอร์ซัพพลายใช้ของราคาถูก จ่ายไฟไม่พอ แบบนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ฮร์ดดิสก์ค้างได้เลย และอย่างที่สองมาจากอุปกรณ์ภายฮาร์ดดิสก์ในทำงานผิดพ ลาด ซึ่งตรงจุดนี้ตัวระบบปฏิบัติการเองสามารถส่งผลต่อเนื ่องมายังฮาร์ดดิสก์ได้โดยตรง เพราะยังไงเสียระบบปฏิบัติการก็เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับส่วนหนึ่ง ย่อมส่งผลไปยังส่วนที่เหลือได้ไม่ยาก

4. ทำไมมันร้อนเร็วจัง : หลังจากที่คุณเปิดสวิตช์เครื่องคอมพ์ได้ไม่นาน และพบว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีอุณหภูมิขึ้นสูงอย่างรวดเ ร็วจนน่าตกใจ แต่ยังคงทำงานต่อไปได้ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความผิดปกติที่พบขึ้นมาทันที อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะฮาร์ดดิสก์จะร้อนขึ้นเมื่อมีการเริ่มเขียน-อ่าน ข้อมูลอย่างจริงๆ จังๆ แค่เปิดเครื่องแล้วอยู่ๆ ก็ร้อนขึ้นขนาดนี้ไม่ดีแน่ครับ อาการที่ว่านี้มาจากอุปกรณ์ภายในโดยตรงที่ส่งความร้อ นออกมา มอเตอร์อาจได้รับแรงดันไฟมากเกินไปหรือไม่เสถียรพอจน ทำงานผิดพลาด นอกจากนี้หากมีชิ้นส่วนในแผงวงจรเกิดชำรุดเสียหายขึ้ นมาก็สามารถแสดงอาการแบบนี้ได้เช่นกัน

5. โปรแกรมค้างบ่อยๆ : สำหรับโปรแกรมที่กำลังพูดถึงนี้ ผมเหมารวมไปถึงระบบปฏิบัติการด้วยนะครับ เวลาที่คุณเปิดโปรแกรมสักตัวขึ้นมาแล้วมันหยุดนิ่งหร ือค้างไปเฉยๆ นั้น หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่อยากให้ทุกท่านได้ใส่ใจก็คือ ปัญหาที่ว่าอาจมาจากฮาร์ดดิสก์โดยตรง ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีแบดเซกเตอร์ (Bad Sector) กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งฮาร์ดดิสก์ ผมกล้าฟันธงได้เลยว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โปรแกรมห รือแม้แต่ระบบปฏิบัติการค้างได้ เป็นสัญญาณเตือนภัยที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชั ดเจนที่สุด

6. ไฟติด แต่ไฟล์ดับ! : ถ้าคุณต่อสายสัญญาณไฟแสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์ในเมนบอร ์ดถูกต้อง หลอด LED ด้านหน้าเคสต้องแสดงอาการให้เห็นเวลาที่มีการเขียนอ่ านข้อมูลเกิดขึ้น หลอดไฟดวงเล็ก ๆ นี้ช่วยให้คุณสังเกตความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ได้เช่น กัน ยกตัวอย่าง ถ้าในระหว่างที่มีการเขียนข้อมูลหรือไฟล์ลงฮาร์ดดิสก ์ หลอดไฟย่อมกะพริบอยู่ตลอด แต่หลังจากคุณกลับเข้าไปดูข้อมูลที่เขียนหรือโอนถ่าย ลงไปกลับพบว่าทุกอย่างว่างเปล่า ไม่มีอะไรถูกเขียนลงไปในฮาร์ดดิสก์เลย แล้วทำไมหลอดไฟถึงได้กะพริบแบบนั้น ตรงนี้บอกอะไรเราได้บ้าง อย่างแรกเลยคือ เกิดความผิดพลาดในระดับโครงสร้างการจัดเก็บไฟล์ ปัญหาที่ว่านี้อาจมาจากระบบ FAT หรือแม้แต่โครงสร้างพาร์ทิชันเสียหาย ไฟที่กะพริบแสดงถึงการโอนข้อมูลไปยังตำแหน่งของเซกเต อร์ที่ใช้เก็บข้อมูล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเขียนลงไปได้สำเร็จจริงๆ ยิ่งถ้าคุณปิดหน้าจอไว้ในระหว่างที่มีการโอนไฟล์ใหญ่ ๆ หลอดไฟที่กะพริบอาจทำให้คุณเข้าใจว่าระบบกำลังทำงานอ ยู่ ตรงนี้ถ้าไม่เปิดดูหน้าจอจะไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น

7. ฮาร์ดดิสก์ตีกลอง : สำหรับอาการที่ว่านี้มีความแตกต่างจากข้อที่ 1 โดยสิ้นเชิง ถ้าคุณได้ยิ้นเสียงรัวกลองดังกึกก้องมาจากฮาร์ดดิสก์ และไม่ยอมหยุดซักที อาการแบบนี้บอกได้อย่างเดียวว่ามันจะขอลาแล้วละครับ เสียงดังที่คล้ายกับการตีกลองนั้นมาจากหัวอ่านไปกระท บกับจานอย่างจัง หรือแม้แต่หัวอ่านเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งล็อก จนไปกระกบกับแผ่นจาน ถ้าเป็นแบบนี้ข้อมูลทั้งหมดในอาร์ดดิสก์อาจได้รับควา มเสียหายจนถึงขั้นกู้ไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าเสียงกลองเพิ่งเริ่มรัวให้คุณรีบพาฮาร์ดดิสก์ไปซ่ อมด่วนเลยนะครับ!

8. สแกนดิสก์ไม่ผ่าน : การตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ก็คือ สแกนมันให้ทั่วทั้งจาน ไม่ว่าคุณจะใช้บริการจากยูทิลิตีบนวินโดวส์เอง หรือโปรแกรมจากเธิร์ดพาร์ตี้ก็ตาม หากสแกนไม่ตลอดรอดฝั่งแล้วละก็ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่าฮาร์ดดิสก์กำลังมีปัญหา เกิดขึ้น สาเหตุก็มีทั้งโครงสร้าง FAT เสียหาย รวมถึงตารางพาร์ทิชันที่อาจเสียหายด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ หากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซกเตอร์ ตรงจุดสำคัญๆ ก็จะส่งผลให้การสแกนฮาร์ดดิสก์ตรงตำแหน่งพื้นที่นั้น ๆ ไม่ผ่านด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่ค้างนิ่งไปเลยก็มีให้เห็นด้วย

9. สั่งดีแฟรกแต่ไม่ฉลุย : ดีแฟรก หรือการจัดเรียงข้อมูลหรือไฟล์ที่ไม่ต่อเนื่องซึ่งกร ะจัดกระจายอยู่ทั่วฮาร์ดดิสก์ให้กลับมาเป็นระเบียบเร ียบร้อยเหมือนเดิม เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วให้ก็จริง แต่ถ้าการดีแฟรกไม่ผ่านฉลุยหรือไม่ยอมจบสิ้นซักทีล่ะ ปัญหาจะมาจากไหนได้ นอกจากฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ถ้าคุณพบอาการที่ว่านี้ในระหว่างการดีแฟรกฮาร์ดดิสก์ นั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ถึงสุขภาพฮาร์ดดิสก์ของคุณเริ ่มไม่ดีแล้ว ความเป็นไปได้ของปัญหามีอยู่สองอย่างครับ อย่างแรกมาจากตัวอุปกรณ์เองที่อาจชำรุดเสียหาย และอย่างที่สองมาจากโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมู ลเกิดความเสียหายในระดับซอฟต์แวร์ ตรงนี้เราไม่สามารถใช้การดีแฟรกมาช่วยได้นอกจากต้องส ร้างพาร์ทิชันและฟอร์แมตโครงสร้าง FAT ขึ้นมาใหม่

10. สร้างพาร์ทิชันไม่ได้ : สัญญาณอันตรายในข้อสุดท้ายนี้ค่อนข้างรุนแรงครับ ถ้าคุณเผอิญกำลังประสบอยู่ละก็ ขอบอกเลยว่าอาจจะต้องทำใจเอาไว้ด้วย ถ้าอาการที่ว่านี้เกิดกับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แกะกล่องค งไม่ต้องซีเรียสอะไร เพราะยังไงก็เคลมได้ชัวร์ๆ แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ที่หมดประกันไปแล้วล่ะ สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้เวลาที่ไม่สามารถสร้างพาร์ทิช ันขึ้นมาได้เลย ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ตาม การตีความหมายไม่ควรอยู่ในวงแคบๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์พังแน่ ๆ หรือมันเพิ่งหล่นมาใช้ไหมนี่ ปัญหาอาจจะมาจากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย ซึ่งหากคุณหาอะไหล่ที่เป็นรุ่นเดียวกันมาถอดเปลี่ยนเ ข้าไปใหม่ ก็สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ได้แล้ว แต่ถ้าแผ่นจานเสียหายละก็หมดสิทธิ์ทันทีครับ ต้องกินยาทำใจอย่างเดียว

(Site): thaigaming.com

:: First Page ::